

วิธีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com

- จะเริ่มต้นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
- จะส่งคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
- หากต้องการยกเลิกคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ จะทำได้อย่างไร?
- เมื่อเปิดบัญชีซื้อขายอนุพันธ์แล้ว ต้องนำเงินประกันมาวางทันทีหรือไม่?
- ส่งคำสั่งซื้อตราสารอนุพันธ์ที่มีมูลค่าสูงกว่า จำนวนเงินที่สามารถใช้ได้จริง(Excess Equity) ได้หรือไม่?
- ต้องการดูรายการซื้อขายย้อนหลังได้ที่ไหน?
- ต้องการทราบกำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ สามารถตรวจสอบได้ที่ไหน?
- หากบัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ของท่านถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Call margin) ท่านต้องดำเนินการอย่างไร?
- ต้องการทราบอัตราหลักประกัน (Margin Rate) สามารถตรวจสอบได้จากที่ไหน?

- จะเริ่มต้นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
-
ก่อนการซื้อขายท่านต้องทำการโอนเงินหลักประกันเข้ามาที่บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ของท่านที่ บล.ธนชาต ก่อน คลิกเพื่อดูรายละเอียดการฝากเงิน ที่นี่ เมื่อวางหลักประกันแล้วจึงจะสามารถเริ่มต้นการซื้อขายได้
นอกจากนี้ท่านจำเป็นจะต้องมี- Username - ชื่อที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบในTNSitrade.com จะต้องประกอบด้วยอักษรหรือเลข 6-10 ตัว
- Password - รหัสผ่านเข้าสู่ระบบ
- PIN No. - รหัสผ่านที่ใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น จะต้องประกอบด้วยตัวเลขทั้งหมด 6 ตัว
จากนั้นเริ่มต้นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ผ่านทาง www.TNSitrade.com ดังนี้- กรณีลูกค้าเดิม (มีบัญชีหลักทรัพย์กับ บล. ธนชาต)
- ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
- ระบุ Username และ password เดิมสำหรับ Login เข้าสู่ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์
- ไปที่เมนู “ซื้อขายตราสารอนุพันธ์”
- จากนั้นจะเข้าสู่เว็บเพจส่วนการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
หมายเหตุ:
ท่านสามารถใช้ PIN No. เดิม (ที่ใช้ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์) ในการยืนยันการส่งคำสั่งซื้อขาย ตราสารอนุพันธ์ - กรณีลูกค้าใหม่ (ยังไม่เคยเปิดบัญชีใดๆ กับ บล. ธนชาต)
- ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
- ระบุ Username และ password ที่ได้ทำการลงทะเบียนสมัครไว้
- ท่านจะพบกับหน้าบังคับให้กำหนด PIN No. (ตัวเลข 6 ตัวเท่านั้น) เพื่อใช้เป็นรหัสสำหรับยืนยันการส่งคำสั่งซื้อขาย
- จากนั้นจะเข้าสู่เว็บเพจส่วนการซื้อขายตราสารอนุพันธ์
หมายเหตุ:
ท่านสามารถกำหนด PIN No. ได้เมื่อทำการ Login เข้าสู่ระบบครั้งแรก หลังจากที่บัญชีได้ทำการ Activate เรียบร้อยแล้ว
- จะส่งคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
-
ท่านสามารถส่งคำสั่งซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้ที่โปรแกรม TNSitrade โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ส่งคำสั่ง ซื้อ(Buy) หรือ ขาย(Sell)
- ระบุ ชื่อย่อตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง สามารถพิมพ์ชื่อย่อของตราสารอนุพันธ์ หรือเลือกจาก Drop-down list
- ระบุ จำนวน Contract ของตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง
- ระบุ ราคาของตราสารอนุพันธ์ที่ต้องการส่งคำสั่ง
- เลือก สถานะ(Position) เปิดสัญญา(Open) หรือ ปิดสัญญา(Close) และท่านยังสามารถกำหนดสถานะเป็นแบบอัตโนมัติ (Auto) ได้ด้วย
- เลือก ลักษณะของราคา(Type)
- Limit : คำสั่งซื้อขายที่ระบุราคาเสนอซื้อหรือขาย
- Market : คำสั่งซื้อขายที่ไม่ระบุราคาที่ต้องการซื้อหรือขาย แต่ต้องการให้คำสั่งที่ส่งเข้าไปได้รับการจับคู่ ณ ราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
- เลือก ประเภทของคำสั่งซื้อขาย(Validity)
- FOK (Fill or Kill) : คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันทีและหากไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ดังกล่าวได้ทั้งหมดตามจำนวน ให้ยกเลิการเสนอซื้อขายนั้นทันที
- FAK (Fill and Kill) : คำสั่งซื้อขายที่กำหนดให้จับคู่การซื้อขายทันที และหากไม่สามารถจับคู่การซื้อขาย ได้เลย หรือจับคู่บางส่วน และมีจำนวนเสนอซื้อขายเหลืออยู่บางส่วน ให้ยกเลิกการ เสนอซื้อขายที่ยังจับคู่ไม่ได้นั้นทันที
- Day : คำสั่งซื้อขายที่มีผลในระบบซื้อขายภายในวันที่ส่งคำสั่ง
- ระบุ ปริมาณสัญญา(P/B Vol.) ที่ต้องการทยอยส่งจนกระทั่งเท่ากับ จำนวน Vol. ที่กำหนด
- นอกจากนี้ท่านสามารถส่ง Stop Order (คำสั่งซื้อขายที่ให้การเสนอซื้อขาย ณ ราคาตลาดมีผลในระบบซื้อขาย เมื่อราคาตลาดขณะนั้นเคลื่อนไหวมาถึงเงื่อนไขราคาที่กำหนด) โดยการทำเครื่องหมาย / ที่หน้าข้อความ Stop Order โปรแกรมจะแสดงหน้าจอเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านป้อนรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการส่งคำสั่ง ตามหน้าจอดังนี้
- Symbol : ตราสารอนุพันธ์ที่จะใช้เป็นเงื่อนไข
- Condition : รูปแบบของเงื่อนไข ประกอบไปด้วย
Bid >= ราคาเสนอซื้อมากกว่า หรือเท่ากับ Bid >= ราคาเสนอซื้อน้อยกว่า หรือเท่ากับ Ask >= ราคาเสนอขายมากกว่า หรือเท่ากับ Ask >= ราคาเสนอขายน้อยก่วา หรือเท่ากับ Last >= ราคาล่าสุดมากกว่า หรือเท่ากับ Last >= ราคาล่าสุดน้อยกว่า หรือเท่ากับ - Price : ราคาของตราสารอนุพันธ์ที่ใช้เป็นเงื่อนไข
- เมื่อป้อนคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านระบุรหัสซื้อขาย (PIN No.) จากนั้นกดปุ่ม Submit เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดตราสารอนุพันธ์
- ต้องการดูรายการซื้อขายย้อนหลังได้ที่ไหน?
-
- ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
- ระบุ Username และ password เดิมสำหรับ Login เข้าสู่ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์
- ไปที่เมนู “รายการซื้อขายย้อนหลัง” (ทางด้านซ้ายมือของเว็บไซต์) สามารถดูรายการย้อนหลังสูงสุด 3 เดือนโดยจะนำขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ในวันทำการถัดมาหลังจากวันที่มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (T+1)
- ไปที่หน้าแรกของ www.TNSitrade.com
- ต้องการทราบกำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ สามารถตรวจสอบได้ที่ไหน?
-
1.กรณีที่ต้องการตรวจสอบยอดกำไร/ขาดทุนของสถานะพอร์ตโฟลิโอ
- หลังจาก Log-in เข้าสู่ระบบ www.tnsitrade.com
- ไปที่เมนู "สถานะพอร์ตโฟลิโอ"
- เลือกเลขที่บัญชี (Trading Account) ใน Drop down เมนูทางด้านบน ให้เป็นเลขบัญชีอนุพันธ์ที่ลงท้ายด้วย 7
- เข้าสู่โปรแกรม Real time (TNSitrade)
- เลือก Portfolio จะแสดงยอดกำไร/ขาดทุนของ portfolio ของท่าน
2.กรณีที่ต้องการตรวจสอบผลกำไร/ขาดทุนย้อนหลังของการเทรดอนุพันธ์- หลังจาก Log-in เข้าสู่ระบบ www.tnsitrade.com
- ไปที่หัวข้อ"สรุปผลกำไรขาดทุนย้อนหลัง (Historical P/L)"
- จากนั้นเลือกเลขที่บัญชี (Trading Account) ใน Drop down เมนูทางด้านบน ให้เป็นเลขที่บัญชีอนุพันธ์ที่ลงท้ายด้วยเลข 7
- และเลือกระยะเวลาที่ต้องการดูข้อมูลย้อนหลัง โดยสามารถเลือกดูผลกำไร/ขาดทุนย้อนหลังได้สูงสุด 3 เดือน
- หากบัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ของท่านถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Call margin) ท่านต้องดำเนินการอย่างไร?
-
ท่านต้องดำเนินการฝากเงินเป็นหลักประกันเพิ่มเข้ามา โดยจะต้องวางให้ทันภายในวันที่ T+1 ก่อนตลาดอนุพันธ์ปิดทำการ1 ชั่วโมง (หรือภายใน 15.55 น. ของวันที่ T+1) อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนยังไม่นำเงินมาวางภายในเวลาที่กำหนด ก็จะไม่สามารถส่งคำสั่งเพื่อสร้างสถานะสัญญาใหม่เพิ่มเติมได้ นอกจากจะทำการส่งคำสั่งเพื่อปิดสถานะ สัญญาที่มีอยู่เดิม
แต่ถ้าหากผู้ลงทุนไม่สามารถนำเงินมาวางเพิ่มเติมได้ทันตามเวลาที่กำหนด บริษัทมีสิทธิที่จะบังคับล้างฐานะสัญญา (Force Close) ของลูกค้าบางส่วนหรือทั้งหมด ภายในเวลา 10.45 น.. ของวันทำการถัดไปนับจากวันที่ครบกำหนดให้วางหลักประกันเพิ่ม หรือดำเนินการอื่นใดตามที่บริษัทเห็นสมควรดังกล่าว (วันที่ T+2) เพื่อรักษาระดับหลักประกันของลูกค้าให้ไม่ต่ำกว่า ระดับหลักประกันเริ่มต้น โดยลูกค้าจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลขาดทุนที่เกิดขึ้นทั้งจำนวน ซึ่งอาจจะมากกว่าจำนวนเงินวางหลักประกันทั้งหมดที่ลูกค้าได้วางไว้ และลูกค้าจะต้องชำระยอดเงินดังกล่าวเพิ่มเติมให้แก่บริษัทภายในวันทำการถัดไปหลังจากวันที่ล้างฐานะสัญญาเสร็จสิ้น